จากคำถามของลูกค้าหลายๆท่านที่อยากลองใช้ยีสต์สดแทนยีสต์แห้ง ว่าเก็บได้นานมั้ย วันหมดอายุเมื่อไหร่???.... วันนี้มีคำตอบให้เห็นด้วยตาค่ะยีสต์สด (fresh yeast /compressed yeast) โดยปกติแล้วเหมาะสำหรับการผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรม(commercial use) แต่หากจะนำมาใช้ในแบบ homeuse เพื่อยกระดับความอร่อยของขนมปัง แต่ติดที่ข้อจำกัดของยีสต์สดที่ระยะเวลาในการเก็บรักษา ไม่ยาวนานเท่ากับยีสต์แห้ง ทำให้ลูกค้าหลายท่าน ลังเลใจที่จะซื้อไปใช้แต่ๆๆๆ ... เดี๋ยวก่อน!! วันนี้เรามีการทดสอบที่อาจจะเป็นคำตอบให้คุณได้ค่ะผลจากการทดสอบ ที่ทางร้านลองเก็บยีสต์สดไว้เป็นเวลานานประมาณ 2 เดือน เก็บในแพคเกจเดิมๆ ของก้อนยีสต์สด ใส่ถุงซิปล็อค วางไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา แล้วลองบิออกมาทำการทดสอบเพื่อดูความ active โดย ณ. วันทดสอบ ยีสต์ก้อนนี้เลยวันหมดอายุมาประมาณ 1 เดือน สักษณะภายนอกที่สังเกตุได้ชัดคือ สีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเเข้มขึ้นจากเดิมที่ปกติสีครีมอ่อนๆผลที่ออกมา คือตามภาพค่ะ ยีสต์มีการ active ฟูขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่ถึง 5 นาทีโดยอัตราส่วนสำหรับการทดสอบ1. น้ำอุ่น 3 ช้อนโต๊ะ (น้ำอุ่น ลองเอานิ้วจุ่มแล้วไม่ร้อนสะดุ้ง นั้นแปลว่าใช่) 2. น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
3. ยีสต์สด 50 กรัม (ยีให้เป็นชิ้นเล็กๆ)
- ละลายน้ำตาลกับน้ำอุ่น จากนั้นใส่ยีสต์ลงไปคนผสมให้ละลาย ... ปล่อยทิ้งไว้ดูปฏิกิริยาการ active
‼️แต่ถึงแม้น้องยีสต์จะ Active ดี แต่เมื่อนำมาลองทำขนมปังแล้วพบว่า ยีสต์ที่สามารถช่วยให้ขนมปังขึ้นฟูและไม่มีรสเปรี้ยว และไม่มีกลิ่นยีสต์นั้น คือยีสต์ที่เลยวันหมดอายุมาไม่เกิน 1 สัปดาห์ค่ะ (ของสด ใช้ตอนที่สดใหม่ย่อมดีกว่าค่ะ)
* ทั้งนี้การเก็บรักษาควรเก็บแยกจากอาหาร (ทางร้านจัดเก็บในตู้เย็นที่แช่เฉพาะวัตถุดิบเบเกอรี่เท่านั้น)
** หากเลยวันบริโภคที่ทางร้านแจ้งไว้ ก่อนใช้งาน ควรทดสอบก่อนค่ะ
***ทางผู้ผลิตไม่แนะนำให้นำยีสต์สดไปแช่ฟรีซ ในกรณีที่ลูกค้านำยีสต์สดแช่ฟรีซเก็บไว้ แล้วนำออกมาใช้งาน อาจพบว่ายีสต์มีน้ำแฉะๆ เหนียวๆ เพราะเกิดจากโมเลกุลน้ำที่อยู่ในก้อนยีสต์ เมื่อถูกแช่แข็งจะแปรสภาพเป็นผลึกน้ำแข็ง และเมื่อนำมาละลาย ผลึกน้ำแข็งจะไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่ในรูปของน้ำในก้อนยีสต์ได้เหมือนเดิม จึงละลายออกมา ที่สำคัญความแหลมของผลึกน้ำแข็ง ยังไปทำลายโครงสร้างของก้อนยีสต์อีกด้วย ลองนึกภาพเวลาเราเอาเนื้อสัตว์แช่แข็ง พอมาละลายแล้ว เนื้อสัตว์จะยุ่ยๆ รสชาติไม่อร่อยอีกต่อไป
แต่สำหรับยีสต์สดแล้ว การแช่ฟรีซยังทำให้ยีสต์ตายไปบางส่วนด้วยนะคะ เพราะถึงแม้ว่าอุณภูมิที่เหมาะสม จะสามารถช่วยทำให้ยีสต์ชะลอการทำงานได้ แต่อุณภูมิในช่องฟรีซนั้น ต่ำเกินไป จนทำให้ยีสต์ตายได้ค่ะ เมื่อยีสต์ตายแล้ว แต่เราไม่ทราบว่าน้องตายไปมากน้อยเท่าไหร่ แต่นำไปใช้งานในปริมาณที่เท่าเดิม ขนมปังของเรา จึงไม่ขึ้นฟู
เหตุผลข้างต้น จึงเป็นความเสี่ยงที่ควบคุมปัจจัยอื่นๆ ไม่ได้ ทางผู้ผลิตจึงไม่แนะนำให้นำยีสต์สดไปแช่ฟรีซค่ะ แต่ถ้าหากใครที่นำยีสต์ไปฟรีซ แล้วออกมาเป็นน้ำเหนียวๆ ก็สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า น้องไปเกิดแล้ว หรืออยากจะทดสอบ ลองปลุกน้องดู ก็สามารถทดสอบตามสูตรด้านบนได้ค่ะ แต่อาจจะต้องใช้เวลารอน้อง Active นานกว่าการเก็บอย่างถูกวิธีค่ะ
แถมสำหรับภาพด้านล่างคือ การทดลองทำน้องขนมปังจากยีสต์ที่หมดอายุราวกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาค่ะ ทางร้านทดลองทำ soft bread ซึ่งผลที่ออกมานั้น ลักษณะทางกายภาพคือน้อยขนมปังนุ่มเด้ง texture ดีเลยนะคะ แต่เมื่อได้ลองชิมแล้วขนมปังจะมีกลิ่นยีสต์ที่ชัดเจน และมีรสเปรี้ยวอ่อนๆค่ะ
หากบทความหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและต้องการนำไปเผยแพร่หรือ share ต่อ ทางร้านขอสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาติให้ copy, ดัดแปลงบทความหรือข้อความใดๆของต้นฉบับ แล้วใส่เครดิต, cr. (credit) Lemmemore แนบท้ายนะคะ แต่ขอให้กดปุ่ม share หรือ redirect ลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับค่ะ .... ขอบคุณค่ะ