วิธีเก็บรักษาฝักวานิลลา

7483 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีเก็บรักษาฝักวานิลลา

 

 

เราทุกคนพอทราบกันดีอยู่แล้วว่ากว่าจะมาเป็นฝักวานิลลาสีดำๆ ที่เราใช้กันทุกวันนี้ จะต้องผ่านกระบวนการเตรียมฝักวานิลลาที่ไม่ง่ายเลย ทั้งการตากแห้ง ผ่านกรรมวิธีการบ่มที่ซับซ้อน และใช้เวลานานเพื่อที่จะทำให้เกิดกลิ่นหอม โดยที่คงความนุ่ม ชุ่มชื้น เอาไว้ โดยความแห้งของฝักที่พอเหมาะนั้น จะทำให้ฝักคงรูป ไม่เปราะแตกง่าย และช่วยห่อหุ้มเมล็ด เก็บรักษาความหอมของเมล็ดวานิลลาเอาไว้  รวมถึงช่วยทำให้เรากรีดเมล็ดออกมาใช้ทำอาหารและขนมได้อย่างง่ายดาย (เพื่อนชาวมาดากัสการ์กระซิบบอกว่า ขั้นตอนบ่มที่ซับซ้อนของเค้ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตของที่นี่หอมต่างจากของที่อื่นๆ ค่ะ)

 
โดยการรักษาความนุ่มชุ่มชื้นและกลิ่นหอม ถือเป็นหัวใจหลักสองประการของการเก็บรักษาฝักวานิลลา ที่เราควรให้ความสำคัญ

 
แต่ก่อนที่จะไปถึงวิธีการเก็บรักษาฝักวานิลลา เรามาทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันอีกเล็กน้อยนะคะ
 
เนื่องจากฝักวานิลลาก็เหมือนกับไวน์ ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งสามารถเกิดกระบวนการพัฒนากลิ่นรสขึ้นมาได้ภายหลังจากการเก็บเกี่ยว

ลองนึกภาพตามถึงผลองุ่น หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วถูกนำมาผ่านกรรมวิธีการบ่มจนได้เป็นไวน์ชั้นเลิศ ซึ่งระยะเวลาและวิธีการการเก็บรักษาไวน์ก็ส่งผลต่อรสชาติของไวน์ ฝักวานิลลาก็เช่นกันค่ะ ถ้าหากเราใช้การตากให้แห้ง โดนแดดตามธรรมชาติ ทำให้ฝักแห้ง ขาดความนุ่ม ยืดหยุ่น เพราะสูญเสียความชุ่มชื่น จนกลายเป็นฝักแห้งๆ สีแดง แต่ถ้าฝักวานิลลานั้นได้ผ่านกระบวนการบ่ม และเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้เรารักษาความนุ่มชุ่มชื้นและกลิ่นหอมเอาไว้ได้ตลอดระยะเวลาการใช้งานค่ะ
 

แล้วกุญแจสำคัญในการเก็บรักษาฝักวานิลลาคืออะไร?

1. ปกป้องฝักวานิลลาจากอากาศและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

สิ่งสำคัญคือต้องระลึกไว้เสมอว่าฝักวานิลลาเป็นเสมือนฟองน้ำ ที่พร้อมจะดูดซับกลิ่นที่อยู่รอบ ๆ  ดังนั้นจำเป็นมากค่ะ ที่จะต้องเก็บแยกไว้ต่างห่าง ไม่ให้มีกลิ่นอื่น ๆ มาเจือปน
 
เพื่อให้ฝักวานิลลาคงความนุ่มชุ่มชื้นและ flavor ไว้ได้นานที่สุด ทางร้านแนะนำให้เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท ควรเป็นขวดแก้ว หรือกล่องพลาสติก ที่มีขนาดที่ไม่ใหญ่ไปกว่าฝักวานิลลามากนัก เพื่อไม่ให้มีอากาศไปสัมผัสฝักวานิลลามากเกินไป จนทำให้ฝักแห้ง หรือหากระดาษไขรองอบมารองกล่องพลาสติกไว้อีกชั้น วิธีนี้จะช่วยให้วานิลลาสัมผัสกับพลาสติกได้น้อยลง ลดการปนเปื้อนของกลิ่นพลาสติกได้ค่ะ

สำหรับการใช้ถุงสูญญากาศ ถือเป็นวิธีที่ดีที่มืออาชีพใช้ในการเก็บรักษาฝักวานิลลา แต่ต้องแน่ใจว่าฝักวานิลลาผ่านกระบวนการบ่มมาได้อย่างพอเหมาะ ไม่ชื้นเกินไป ไม่แห้งเกินไป เพราะถ้าเป็นฝักวานิลลาที่เตรียมมาไม่ดี หรือฝักอ่อนเกินไป มีโอกาสที่จะเกิดราเขียวได้ค่ะ ซึ่งหลังจากการเปิดใช้ก็ต้องซีลถุงให้สนิท ให้แน่ใจว่าไม่มีอากาศเข้าไปจริงๆ นะคะ

 2. ปกป้องฝักวานิลลาจากแสง

เพราะแสงมักมาคู่กับความร้อน ซึ่งความร้อนสามารถทำให้ฝักวานิลลาเปลี่ยนสีเป็นสีแดง แห้ง เปราะได้


แล้วตู้เย็นกับตู้แช่แข็งล่ะ เก็บได้มั้ย?

 
จริงๆ แล้วการแช่แข็งหรือแช่ตู้เย็นไม่ได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของฝักวานิลลาแต่อย่างใดนะคะ แต่ลองสังเกตดูสักเล็กน้อย...คนที่ทานไวน์ เค้าเลือกเก็บไวน์ในตู้เย็นหรือเปล่า ไวน์แดงชั้นดีราคาแพงๆ เราอยากเอามันไปเก็บในตู้เย็น หรือช่องแช่แข็งมั้ยคะ

นั่นเพราะอุณหภูมิปกติจะช่วยให้ flavor ต่างๆ มีการพัฒนาได้เต็มที่ แต่ความเย็นจะหยุดปรากฏการณ์ทุกอย่างไว้...แล้วเรายังอยากจะนำฝักวานิลลาไปแช่เย็นอยู่ไหมคะ?

แต่ถ้าใครเลี่ยงไม่ได้ นำฝักวานิลลาแช่ตู้เย็นไปซะแล้ว แล้วปรากฏว่าเจอจุดสีขาวๆ เกิดขึ้น นั่นไม่ใช่เชื้อรานะคะ แต่เป็นปฏิกิริยาที่ฝักมีต่อความเย็น เนื่องจากฝักวานิลลามีความลื่นจากน้ำมันธรรมชาติที่ช่วยให้ฝักชุ่มชื้น อยู่บริเวณผิวของฝัก เมื่อถูกความเย็นหยดน้ำมันก็จะจับตัวแข็ง เกิดเป็นจุดสีขาวขึ้น ซึ่งเมื่อฝักคลายเย็นแล้ว จุดสีขาวๆ นั้น จะจางหายไปเองค่ะ ลองดูวิดีโอด้านบนได้ค่ะ (แต่ถ้าไม่หาย แปลว่าอาจจะเป็นเชื้อราค่ะ) แต่ถึงแม้ว่าจุดขาวจะหายไปแล้ว ฝักของเราก็จะไม่ชุ่มชื้นเหมือนเดิม เพราะตู้เย็นจะดูดความชื้นจากฝักไปซะแล้วค่ะ


แล้วฝักวานิลลาเก็บได้นานเท่าไหร่ กันนะ?


ถึงแม้ว่าฝักวานิลลาไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่าย สามารถเก็บไว้ใช้ได้ตราบนานเท่านาน (ถ้าไม่ขึ้นราเขียวๆ) แต่ถ้าให้ได้กลิ่นและ flavor ที่ดีที่สุด ควรใช้งานหรือบริโภคภายใน 2 ปีค่ะ แต่ถ้าใครจะเก็บนานกว่านั้น ก็ยังไม่ได้เน่าเสีย หรือต้องทิ้งนะคะ แค่กลิ่นหอมอาจจะจางลงเท่านั้นเองค่ะ  



อีกไม่กี่เดือนก็ปีใหม่แล้ว ใครที่กำลังมองหาของขวัญที่มีคุณค่าใช้กับคนทำเบเกอรี่ ฝักวานิลลาก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจนะคะ เป็นความหอมหวาน ที่ลุ่มลึกเหมือนคนให้และคนรับ ช่วงนี้ราคาปรับลงมาเล็กน้อย ถ้าซื้อเยอะยิ่งถูกลงไปอีกค่ะ
 
ตามไปช็อปฝักวานิลลาได้เลยที่นี่

หากบทความหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและต้องการนำไปเผยแพร่หรือ share ต่อ ทางร้านขอสงวนสิทธิ์ ไม่อนุญาติให้ copy, ดัดแปลงบทความหรือข้อความใดๆ ของต้นฉบับ แล้วใส่เครดิต, cr. (credit) Lemmemore แนบท้ายนะคะ แต่ขอให้กดปุ่ม share หรือ redirect ลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับค่ะ ขอบคุณค่ะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้